วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่5


วันนี้อาจารย์จินตนาได้สอนเรื่องขอบข่ายของวิชาคณิตศาสตร์ โดยการยกคำพูดของท่านดร.วิทยาและท่านดร.เยาวภา มาเปรียบเทียบกันให้ฟัง ดังนี้
1.การเขียนเลขคณิตเพื่อแทนค่าและสื่อจำนวณ  (ดร. วิทยา   ประพฤติกิจ.2541.17-19)  
1. การนับ คือ การเรียงตัวเลข จากนั้นเป็น การนับลำดับที่ตำแหน่ง จะได้เป็น จำนวน แล้วจะใช้ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  
2. ตัวเลข  เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์มีไว้บอก ค่า  จำนวน  สัญลักษณ์  เพื่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ                               
3. การจับคู่ คือ การจับคู่เหมือน เช่น รูปร่าง  รูปทรง  จำนวน
4. การจัดประเภท คือ กำหนดเกณฑ์ เราไม่ควรกำหนด 2 เกณฑ์ เพราะจะทำให้เด็กสับสนแยกแยะไม่ออก ถ้าต้องกำหนดเกณฑ์ต้องกำหนดเพียง 1 เกณฑ์สำหรับเด็กปฐมวัย เพราะ เป็นการวางพื้นฐาน         
5. การเปรียบเทียบ คือ ทักษะการสังเกตเป็นขั้นต้น คือ การกะประมาณ คือ 1.หาค่า/หาปริมาณ   แล้วมา   2.มาเปรียบเทียบกัน แล้ว เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำจริงในการเปรีบยเทียบโดยการ  ตัดออก  การลบ  การบวก
6. การจัดลำดับ คือ การหา ค่า / ปริมาณ แล้วมา เปรียบเทียบ แล้วมา จัดวางเรียงลำดับ แล้วนำ ตัวเลขมาลำดับกำกับ
7. รูปทรงและเนื้อที่ คือ ปริมาณ ความจุ
8.การวัด คือ การหาค่า/ปริมาณ ที่เป็น หน่วย/เครื่องมือในการวัด(สำหรับเด็กจะไม่เป็นทางการ)  เครื่องมือกึ่งมาตรฐาน เช่น ฝ่ามือ  เครื่องมือมาตรฐาน เช่น ไม้บรรทัด ตลับเมตร
9. เซต คือ การอยู่เป็นคู่ เช่น จำนวน คู่กับจำนวน (1,1)
10. เศษส่วน อันดับแรกต้องรู้จักคำว่าทั้งหมด”  และ ”ครึ่ง(แบ่งครึ่ง)” เช่น การแบ่งขนมคนละครึ่ง  หรือ  มีเด็ก 4 คนมีขนม 1 ชิ้น ต้องแบ่งขนมให้ได้ 1 ส่วน 4ของแต่ละชิ้น แต่ละคนให้เท่าๆกัน
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย  ได้ลงมือปฏิบัติจริงแล้วใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5การทำตามแบบ คือ การเล่น เช่น การเล่นเกมกระต่ายขาเดียวแล้วจะต้องให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกและตัดสินใจทำเองและทำโดยไม่ทำลายความเชื่อมั่นในตนเอง
12. การอนุรักษ์ คือ การตอบตามที่ตามองเห็นที่เป็นรูปธรรม เช่น ตัวอย่าง การเทน้ำใส่แก้วที่มีรูปร่างต่างกัน
     (เยาวภา  เดชะคุปต์.2542.87-88) ได้เสนอการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูครวศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต
2. จำนวน 1-10
3. ระบบจำนวน/ชื่อของตัวเลข   1=หนึ่ง  / 2=สอง
4. ความสัมพันระหว่างเซต
5. การรวมกลุ่ม
6. ลำดับที่
7. การวัด
8. รูปทรงเรขาคณิตศาสตร์
9. สถิติและกราฟ

งานที่ได้รับมอบหมาย
1.)อาจารย์จินตนาให้จับคู่และสั่งงานเป็นการบ้านคือให้ไปคิดขอบข่ายคณิตศาสตร์ตามเรื่องที่ตนเองสนใจ
2.)สัปดาห์หน้าอาจารย์จ๋าให้เตรียม กล่องที่มีรูปทรงใดก็ได้มาคนละ 1 อัน
3.) วันจันทร์  ให้นักศึกษาทุกคนไปลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ 5 ธันวาคม มหาราชและเวลา13.00.-17.00. มาร้องเพลง
4.) วันอังคาร  เวลา 16.00 อาจารย์นัดเจอกันที่ลานเพลิงเพื่อที่จะมาเต้นถวายพระพรเพื่อพ่อหลวง

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันกิจกรรม เนื่องจาก จัดมหกรรมงานกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์



งดการเรียนการสอน เนื่องจาก ทางคณะศึกษาศาสตร์ได้จัดมหกรรมงานกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นที่จะสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นภายในคณะศึกษาศาตร์ ซึ่งในวันงาน คณะศึกษาศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่2 ได้ทำหน้าที่ขึ้นสแตนเชียร์ ของสีส้ม และได้รับรางวัลชนะเลิศในส่วนของการเดินพาเหรดและสแตนเชียร์อีกด้วย. 


                                  ภาพบรรยากาศของการจัดงานกีฬาสี
                                            

 



วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่3


บันทึกการเรียน
วันนี้อ.จ๋าให้แบ่งกลุ่ม 3 คน ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีดังนี้
1.)นางสาวศิรินยา  ใจทอง
2.)นางสาวชลดา  มั่งคง
3.)นางสาวพัชรวี  สิริเวชพันธุ์
 ต่อจากนั้นเอางานของแต่ละคนมารวมกันจนเกิดเป็นความหมายใหม่ ที่กลุ่มของฉันได้ช่วยกันทำ มีดังต่อไป
1. ความหมายของคณิตศาสตร์ 
             คณิตศาสตร์เป็นความรู้แขนงหนึ่งที่มีหลักการและวิธีการที่แน่นอนและเป็นไปอย่างมีเหตุผล ซึ่งสามารถนำไปใช้แก้ไขปัญหาต่างๆได้
2.จุดประสงค์ของการเรียนคณิตศาสตร์
              2.1 เพื่อฝึกทักษะการเขียน
              2.2 เพื่อฝึกทักษะการพูด
              2.3 เพื่อฝึกทักษะการอ่าน
              2.4 เพื่อฝึกทักษะการคิดคำนวณ
3. ทฤษฏี
               3.1ทฤษฏีการฝึกฝน
               3.2ทฤษฏีแห่งการเรียนรู้โดยบังเอิญ
               3.3ทฤษฏีแห่งความหมาย
4.ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
                4.1 การนับ การวัด ลำดับ
                4.2 การจำแนก
                4.3 การสังเกต
6.หลักการสอน
                6.1 สอนให้เข้าใจ
                6.2 สอนเนื้อหาใหม่
                6.3 การปฏิบัติทางคณิตศาสตร์
                6.4 สอนให้ซึมซาม
อ.จ๋าบอกว่าทำไมต้องหาความหมายของคณิตและทำเป็นกลุ่ม
   -ศึกษาด้วยตนเอง -จัดกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดกัน-เกิดการเรียนรู้-ผ่านการคัดกรอง
                            
                                                        บรรยากาศในห้องเรียน



วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่2

บันทึกการเรียน   
        วันนี้อาจารย์จินตนาได้พูดถึงเด็กปฐมวัยว่าเด็กเล็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5มาใช้ด้านการคิดวิเคาะห์ เช่น คิดได้หลายๆด้านหลายๆมุม ซึ่งเทียบเป็นภาพ ก็จะเป็นภาพ3มิติ ภาพ2มิติ และเริ่มที่จะเชิ่อมโยงได้โดยไม่มีภาพ อาจจะเป็นสัญลักษณ์ ก็ได้

                แรกเกิด-6ปี  จำเป็นที่จะต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5โดยการซึมซับทำให้จดจำ เกิดประสบการณ์ใหม่ที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้เดิม เพื่อให้เด็กได้สร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น เรื่องแมว เด็กเห็นแมวนอนอยู่ แมวเริ่มเดิน เด็กก็จะเกิดความสงสัยจึงเดินเข้าไปเล่นด้วย ในขณะที่เล่นแมวอาจจะข่วนหรือกัดเด็กได้ ซึ่งทำให้เด็กเกิดการรับรู้ แต่ถ้าหากเด็กมีความรู้สึกกลัวแมว แสดงว่าเด็กได้เกิดการเรียนรู้

อ.จ๋าได้สั่งงาน ดังนี้
1.ให้สำรวจห นังสือคณิต ต้องมี ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง เลขหมู่ ปีพ.ศ. และ บาร์โค้ดหนังสือ
2.หาความหมายของ"คณิตศาสตร์" มา1ท่าน ต้องมี ชื่อผู้นิยาม ชื่อหนังสือ เลขหน้า
3.ให้หาจุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ ว่าคืออะไร มา1ท่าน
4.การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ (มา1ทฤษฎี)
5.ให้บอกขอบข่ายของคณิตศาสตร์
6.ให้หลักการของคณิตศาสตร์

                         หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษามาลิงค์บล็อคจากอาจารย์ 





     

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบันทึกการเรียนครั้งที่1


   บันทึกการเรียน
           วันนี้อาจารย์จินตนาได้ทำการเช็คชื่อและบอกเลขที่ให้นักศึกษาทราบและร่วมกันสร้างข้อตกลงในห้องเรียนร่วมกันกับนักศึกษา และได้มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดว่า เราควรจะมีการเรียนไปในทิศทางใด และต้องการที่จะเรียนแบบเต็มคาบแล้วค่อยไปสร้างBlogger เพื่อทำแฟ้มบันทึกการสะสมผลงานและบันทึกการเรียน หรือ เลิกเรียนก่อน40นาที แล้วจึงไปทำBlogger ใให้เสร็จภายในวันนั้น เพื่อนๆมีความเห็นตรงกันว่า ควรที่จะเลิกการเรียนในรูปแบบที่2 เพราะงานจะได้ไม่คลั่งค้าง หลักจากนั้น อาจารย์จินตนาได้ให้ตอบคำถาม 2 ข้อ คือ
1.)ให้เขียนประโยค2ประโยค ว่าคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายความว่าอย่างไร
2.)เราได้รับอะไรจากการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อย่างไรบ้าง

สรุป
       เด็กจะต้องมีความอยากรู้อยากเห็นและความต้องการที่มาพร้อมพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เช่น พลิก คว่ำ หงาย คลาย ยืน นั่ง เป็นต้น ซึ่งทั้งนี้เด็กจะต้องมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม ที่จะแสดงความต้องการและความพร้อมออกมาให้เห็น ซึ่งจะทำให้เราทราบได้ว่าเราควรที่จะจัดกิจกรรมในรูปแบบไหนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงและวัยของเด็ก